การประชุมของคณะทำงานเอื้ออำนวย (Facilitative Working Group – FWG) เวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น (Local Community and Indigenous Peoples Platform – LCIPP) ครั้งที่ 13 จัดขึ้นที่กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมันนี ระหว่างวันที่ 10-13 มิถุนายน 2568 มีผู้เข้าร่วมทั้งออนไซด์และออนไลน์กว่า 200 คน ประกอบไปด้วยผู้แทนจากชนเผ่าพื้นเมือง ชุมชนท้องถิ่น ผู้แทนรัฐบาลและหน่วยงานที่สนใจ
ประเด็นการพูดคุยมีเนื้อหาสำคัญดังนี้
1. การทบทวนมติและแผนงาน 3 ปี ของเวที LCIPP (2025-2027) ซึ่งมีทั้งหมด 6 แผนงานด้วยกัน ได้แก่ แผนงานแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แผนงานแลกเปลี่ยนระดับภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค แผนงานเยาวชน แผนงานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) แผนงานการเสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีสมาชิก UNFCCC และการวางแผนยุทธศาสตร์ภาพรวม รายละเอียดของแผนงานแต่ละด้านดูเพิ่มเติมได้จากลิงค์นี้ http://lcipp.unfccc.int/sites/default/files/2024-02/LCIPP%20Third%20Three%20Year%20Work%20Plan%20Planning%20Doc_v%20091223_clean.pdf
2. การกำหนดประเด็นหลักสำหรับปีนี้ คือ “Ambitious and Just Climate Action Rooted in Holistic Stewardship” “การดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศที่ทะเยอทะยานและเป็นธรรม บนฐานการดูแลรักษาแบบองค์รวม”
3. การแบ่งกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็นต่อแผนงานและกิจกรรมแต่ละด้าน – เพื่อประกอบเป็นข้อมูลสำหรับการดำเนินงานตามแผนงานของ LCIPP
4. การประสานงานกับคณะทำงาน และฝ่ายงานต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ข้อตกลงปารีส เช่น Gender Action Plan (GAP), Least Developed Countries Expert Group (LEG), Adaptation Committee (AC), Paris Committee on Capacity-building (PCCB) ฯลฯ
5. พูดคุยเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งของคณะทำงานเอื้ออำนวยชุดปัจจุบัน – จากมติที่ประชุมของประเทศภาคีสมาชิกครั้งที่ 29 ที่เมืองบาคู ประเทศอาเซอร์ไบจัน เสนอให้สมาชิกชุดปัจจุบันจำนวน 6 คนจาก 14 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี จากเดิมสมาชิกจะมีวาระคราวละ 3 ปี ทั้งนี้ เพื่อให้การดำรงตำแหน่งของสมาชิกมีระยะเวลาที่เหลื่อมกัน ทำให้การดำเนินงานของคณะทำงานมีความต่อเนื่อง หลังจากนั้นจะมีการเลือกสมาชิกที่หมดวาระ 2 ปีกันใหม่ ซึ่งสมาชิกคณะทำงานเอื้ออำนวยในชุดต่อไปจะมีวาระ 3 ปี เหมือนเดิม
6. การแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับการจำแนกตัวตนระหว่าง “ชนเผ่าพื้นเมือง” กับ “ชุมชนท้องถิ่น” ให้ชัดเจน ที่ผ่านมามักจะมีการใช้คำสองคำนี้ร่วมกัน ทำให้เกิดความสับสน จึงเสนอให้มีการจำแนกสองคำนี้ออกจากกันให้ชัดเจน ชนเผ่าพื้นเมืองมีการรวมตัวกัน มีกลไก การประสานงาน มีตัวแทนที่ชัดเจน ซึ่งประเทศภาคีสมาชิกได้รับรองให้เป็นหนึ่งในกลุ่มหลัก (Major group) ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันและดำเนินงานให้ข้อตกลงปารีสบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ ชนเผ่าพื้นเมืองมีกฎหมายระหว่างประเทศที่ให้การรับรองสิทธิองค์รวมและสิทธิในการกำหนดตนเอง ขณะที่ชุมชนท้องถิ่น ยังไม่มีการรวมตัวและทำงานกันอย่างเป็นรูปธรรม และยังไม่ได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นกลุ่มหลักภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการจัดการตนเอง (Self-organization) ให้เป็นรูปธรรม
7. การประชุมคณะทำงานเอื้ออำนวยครั้งต่อไป คือ ครั้งที่ 14 จะจัดขึ้นที่เมือง เบเล็ม ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ 4-7 พฤศจิกายน ก่อนการประชุมประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 30
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์นี้ https://lcipp.unfccc.int/homepage
รายงานโดยฝุยุ่น
เวทีประชุมปฏิบัติการ เรื่อง “ความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”
เมื่อวันที่ 14-16 มกราคม 2568 ทางมูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อมได้รับเชิญเข้าร่วมแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกับองค์กรภาคีที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก MACP (Margaret A. Cargill Philanthropies) ในประเด็นเกี่ยวกับความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate resiliency) จัดขึ้นที่อุ๊กมอล (Uxmal) จังหวัดเมอริดา (Merida) ประเทศแม็กซิโก
เวทีนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งของหลักสูตรการฝึกอบรมผู้นำที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก MACP ซึ่งมีอยู่หลายกิจกรรม ทั้งเวทีออนไลน์ และออนไซด์ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับองค์กรในการสนับสนุนงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ในระดับชุมชน
กิจกรรมวันแรกเป็นการบรรยายเกี่ยวกับโลกทัศน์ชนเผ่าพื้นเมืองมายา (Maya) ในเรื่องจักรวาลวิทยา ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ และสถานการณ์และปัญหาที่ชนเผ่าพื้นเมืองประสบ ซึ่งก็คล้ายๆ กับหลายๆ ประเทศที่กำลังประสบอยู่ คือ การสูญเสียที่ดิน ทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ อันเนื่องมาจากการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน การทำเหมืองแร่ และรุกเข้ามาของพืชเงินสด รวมทั้งพืชตัดแต่งทางพันธุกรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตและการสืบทอดองค์ความรู้ของชนเผ่าพื้นเมือง นอกจากนี้มีการทบทวนเกี่ยวกับเครื่องมือการการวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ที่มีความซับซ้อนหลายระดับ (Complexity)
วันที่สองลงพื้นที่ไปเรียนรู้กิจกรรมการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ป่าโกงกางและการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของชุมชนมายาอิสรา เอรีนา (Isla Arena) อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดกัมเปเซ่ (Campeche) ซึ่งนำโดยผู้นำสตรี ชุมชนดังกล่าวได้รับการคัดเลือกเป็นชุมชนดีเด่น เป็นพื้นที่เรียนรู้และขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ หลายแห่ง
วันที่สามเป็นเวทีเปิดให้แต่ละองค์กรนำเสนอประเด็นที่อยากแลกเปลี่ยนและคุยด้วย ซึ่งมีหลายประเด็นด้วยกัน เช่น การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน การเงินที่เกี่ยวข้องกับโลกร้อน โลกร้อนที่เป็นธรรม การบูรณาการองค์ความรู้พื้นบ้านกับองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ในการรับมือกับภาวะโลกร้อน ฯลฯ
กิจกรรมการฝึกอบรมครั้งต่อไปจะจัดแบบออนไลน์ในเดือนมีนาคม 2568
Draft laws on the protection and promotion the rights of Ethnic Groups and Indigenous Peoples in Thailand
ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ประสบกับสารพัดปัญหา ทั้งเรื่องที่ดิน สิทธิในสัญชาติ การเข้าถึงระบบการศึกษาที่ ปัญหาการสูญหายของอัตลักษณ์ ภาษา และวัฒนธรรม สาเหตุล้วนมาจากกฎหมายและนโยบายที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิม จึงนำสู่การยกร่าง พ.ร.บ. สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. … เพื่อหวังเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
Document download (in Thai)
ร่าง พรบ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองฯ (The draft law of the Council of Indigenous Peoples in Thailand) (คลิ๊กที่นี่)
ร่าง พรบ.ฉบับผ่านวาระ 3 จากรัฐสภา (ดาวโหลด)
Different Draft laws on the Promotion and Protection of Ethnic Livelihoods in Thailand (in Thai)
ร่าง พรบ. คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ... (ฉบับ ศมส. The draft law prepared by Sirinthon Anthropology Centre) (อ่านรายละเอียด)
ร่าง พรบ. ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ... (ฉบับพรรคก้าวไกล The draft law prepared and submitted by Kaokrai party) (อ่านรายละเอียด)
ร่าง พรบ. ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ... (ฉบับคณะกรรมาธิการรัฐสภาฯ The draft law prepared and submitted by the Parlianment Standing Committee) (อ่านรายละเอียด)
ร่าง พรบ. คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง พ.ศ... (ฉบับ พีมูฟ The draft law prepared by P-Move) (อ่านรายละเอียด)
United Nations Declaration on the Rights of Indigenous Peoples (UNDRIP)
Learning about the Council of Indigenous Peoples in Thailand (CIPT)
สภาชนเผ่าพื้นเมือง คือ กลไกหลักของชนเผ่าพื้นเมืองที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริม พัฒนาและคุ้มครองสิทธิของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองที่อยู่ภายใต้กรอบกฎหมายและปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง
ทางคณะกรรมการปฏิรูปกฏหมาย (คปก.) ร่วมกับเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) ได้ร่วมกันยกร่างและผลักดันร่าง พรบ. สภาชนเผ่าพื้นเมืองเสนอให้แก่รัฐสภาพิจารณาตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งยังไม่มีความคืบหน้าในรัฐบาลที่ผ่านมา
อ่านรายละเอียดเพิ่ม คลิ๊กที่นี่
ความสำคัญของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
(Importance of the Council of Indigenous Peoples in Thailand)
สภาชนเผ่าพื้นเมืองร่วมกับองค์กรภาคีได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในวันชนเผ่าพื้นเมืองโลกและวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยที่ อาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565
โครงการนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้ชนเผ่าพื้นเมือง ได้เรียนรู้และจัดทำระบบฐานข้อมูลของตนเองขึ้นมาเพื่อใช้เผยแพร่ วางแผนและการพัฒนาตนเอง และสนับสนุนกระบวนการขับเคลื่อนของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ในระยะแรกได้เริ่มดำเนินการนำร่อง 10 กลุ่มชาติพันธุ์ก่อน หลังจากนั้นจะค่อยๆ ขยายผลและจัดทำข้อมูลให้ครบทุกกลุ่ม
ดูรายละเอียดที่ลิงค์นี้ www.thaiipportal.info
มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับแกนนำชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มต่างๆ ร่วมกันจัดตั้งเครือข่ายนักปกป้องสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองขึ้นมา เพื่อติดตามสถานการณ์การละเมิดสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองทั้งกรณีที่เป็นปัจเจกบุคคลและระดับชุมชน โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากร
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.eihrdthailand.net
ตามที่รัฐบาลไทยพยายามขอขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี รวมเนื้อที่กว่า 2 ล้านไร่ หรือประมาณ 4,071 ตารางกิโลเมตร แต่ถูกคณะกรรมการพิจารณาการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกมีมติไม่ให้ผ่านตลอดทั้งสามครั้งที่มีการพิจารณา โดยให้รัฐบาลไทยกลับมาแก้ไข เพิ่มเติมข้อมูล และที่สำคัญให้กลับมาแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิชาวกะเหรี่ยงในกลุ่มป่าแก่งกระจานเสียก่อน
อย่างไรก็ตาม ในต้นปี 2563 รัฐบาลไทยมีความพยายามที่จะผลักดันการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกอีกครั้ง โดยให้เหตุผลสำคัญว่าได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพิจารณาการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว
ด้วยเหตุนี้ สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยและเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเขตงานตะนาวศรี โดยการสนับสนุนของมูลนิเพื่อการประสานความร่วมมือชนเผ่าพื้นเมืองในเอเชีย – เอไอพีพี และสหภาพยุโรป จึงร่วมกันจัดเวทีเสวนาภายใต้ชื่อ “สุนทรียเสวนา โค้งสุดท้าย กลุ่มป่าแก่งกระจานสู่มรดกโลก” ขึ้นในวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ที่บ้านน้ำพุร้อน ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านในกลุ่มป่าแก่งกระจานร่วมกันประเมินว่าสภาพปัญหาที่ชาวบ้านเผชิญอยู่โดยนำข้อเท็จจริงของสถานการณ์ในพื้นที่มานำเสนอและแลกเปลี่ยนกัน มีชาวบ้านจากทั้งสี่ผืนป่าอนุรักษ์ให้ความสนใจเข้าร่วมอย่างคับคั่งกว่า 200 คน และมีหัวหน้าอุทยานในพื้นที่มาร่วมสังเกตการณ์ส่วนหนึ่ง
จากผลการพูดคุย ปรากฎว่าสภาพปัญหาในหลายพื้นที่ยังคงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง มิหนำซ้ำยังมีชาวบ้านถูกจับกุมดำเนินคดีด้วยข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายวันแมพ และการดำเนินงานตามกฎหมายอุทยานแห่งชาติ ฉบับปี 2562 ที่ชาวบ้านไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผลกระทบเหล่านี้ยังกระจายอยู่ทั่วทั้งกลุ่มป่าแก่งกระจาน เช่น การขยายเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานทับซ้อนที่ดินทำกินของชาวบ้านในอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี การอพยพชาวบ้านสวนทุเรียนลงมาอยู่ที่บ้านป่าหมาก ตำบลท่าเสลา อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อุทยานแห่งชาติกุยบุรีแล้วไม่จัดสรรที่ดินและเยียวยาอย่างเหมาะสม ขณะที่ชาวบ้านบางกลอย ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน ก็ยืนยันว่าชาวบ้านที่ถูกอพยพลงมาจากบ้านใจแผ่นดิน ยังไม่ได้รับการจัดสรรที่ดินให้ตามที่ควร ขณะที่ชาวบ้านยังยืนยันจุดยืนเดิม “ไม่คัดค้านการขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก แต่ต้องแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จก่อน”
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ภาษาอังกฤษ) คลิ๊กที่นี่เพื่อดาวโหลดเอกสาร)
ข้อเสนอของผู้จัดทำรายงานพิเศษสหประชาชาติ (ภาษาอังกฤษ) คลิ๊กที่นี่เพื่อดาวโหลดเอกสาร)
ดาวโหลดเอกสาร คลิ๊กที่นี่
Statement of the Network of Indigenous Peoples in Thailand on the nomination of Kaengkrachan Forest Complex enlisted as a world natural heritage site. Download document here.