Who We Are?
มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษา
และสิ่งแวดล้อม
ความเป็นมา
มูลนิธิ ได้รับอนุญาตจัดตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 หมายเลขทะเบียน ชม. 0027/2548 โดยความร่วมมือของผู้แทนชนเผ่าพื้นเมืองและนักวิชาการ เป้าหมายของการก่อตั้งในระยะแรกๆ นั้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของชนเผ่าพื้นเมืองและส่งเสริมการเข้าไปมีส่วนร่วมและ การรณรงค์ของชนเผ่าพื้นเมืองในระดับนโยบายโดยเฉพาะในประเด็นที่มีผลกระทบกับ พวกเขา เช่น นโยบายการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ และการลดผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้ดำเนินงานอย่างใกล้ชิดกับองค์กรภาคีสากลของชนเผ่าพื้นเมืองในป่าเขต ร้อนและองค์กรพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง
ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมามูลนิธิได้ทบทวนและจัดปรับทิศทางการดำเนินงานใหม่ ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษา การพัฒนาและการจัดการที่ดินและทรัพยากรที่ยั่งยืนและเหมาะสมตามจารีตประเพณี
พื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่ทางมูลนิธิให้การสนับสนุนอยู่ในปัจจุบัน คือ ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย เช่น กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน ลีซู ลาหู่ อาข่า ฯลฯ ประสบการณ์จากการดำเนินงานดังกล่าวจะแบ่งปันและขยายไปสู่ชนเผ่าพื้นเมืองใน ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอื่นๆ ด้วย เช่น ลาว กัมพูชาและเวียตนาม
วิสัยทัศน์
ชนเผ่าพื้นเมืองในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมีสิทธิและ มีส่วนร่วมในด้านการจัดการศึกษาและการรจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่สอดคล้อง กับวิถีชีวิตตนเอง
ภารกิจ
- ติดตามนโยบายและพันธกรณีระหว่างประเทศด้านการศึกษาและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมือง
- ผลักดันนโยบาย/ข้อตกลงร่วมระหว่างประเทศไปสู่การปฏิบัติการต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคและท้องถิ่น
- ส่งเสริมการพัฒนาศูนย์ข้อมูลด้านการศึกษาและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมือง
- พัฒนาศักยภาพแกนนำชาวบ้านและเจ้าหน้าที่องค์กรที่สนใจด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
- สนับสนุน ประสานงานกับองค์กร เครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
- ติดตามทิศทางและนโยบายการจัดการการศึกษาสำหรับชนเผ่าพื้นเมืองในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ยุทธศาสตร์
- ยึดหลักการและกรอบแนวคิดตามปฏิญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองเป็นฐานในการดำเนินงาน
- สร้างแกนนำองค์กร บุคลากรชนเผ่าพื้นเมืองให้มีบทบาทหลักในกิจกรรมต่าง ๆ
- มุ่งเน้นการไหลเวียนด้านข้อมูลอย่างอิสระ
- ยึดแนวทางการประสานความร่วมมือพหุภาคี
- เน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนและความเสมอภาคทางเพศ
- เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้การสนับสนุนด้านการศึกษาและการจัดการสิ่งแวดล้อมแก่ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
3. เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
4. เพื่อส่งเสริมคุ้มครองสิทธิและวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
กิจกรรมของมูลนิธิฯ
1. การจัดทำและเผยแพร่ข้อมูล
มูลนิธิฯ จะรวบรวมและพัฒนาระบบข้อมูลด้านนโยบายการศึกษา การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ การลดภาวะโลกร้อน รวมทั้งข้อมูลสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน ที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมืองในระดับต่างๆ โดยจัดทำเป็นสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเลคทรอนิค์ เช่น ทำเป็นหนังสือ แผ่นพับ วีดีโอ สื่อวิทยุและเว็บไซด์ เพื่อเผยแพร่ให้กับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. การพัฒนาศักยภาพให้กับชุมชนและองค์กรชนเผ่าพื้นเมือง
ทางมูลนิธิฯ จะส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพให้กับองค์กรและชุมชนชนเผ่า พื้นเมืองในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น การประเมินผลกระทบจากภาวะโลกร้อนโดยชุมชน โครงการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้ ฯลฯ เพื่อให้พวกเขาเข้าใจสามารถช่วยเหลือและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของตนเองได้ รูปแบบของกิจกรรมมีหลายอย่าง อาทิ การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การเข้าร่วมประชุมในเวทีระดับต่างๆ
3. การพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง
มูลนิธิฯ จะสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยและในระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อเป็นเวทีในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านต่างๆ รวมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชนเผ่าพื้นเมืองในอนุภูมิภาค
4. การติดตามและรณรงค์นโยบายที่อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิและความเป็นอยู่ของชนเผ่าพื้นเมือง
1.1) นโยบายระดับสากลและระดับภูมิภาค เช่น อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เวทีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ ธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเซีย และอาเซียน เป็นต้น
1.2) นโยบายในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เช่น นโยบายการจัดการพื้นที่คุ้มครอง การจัดการที่ดิน (โฉนดชุมชน) การลดการทำลายป่าและการเสื่อมโทรมของป่าไม้ในประเทศกำลังพัฒนา (REDD+) นโยบายด้านการศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนบนพื้นที่สูง
Indigenous Peoples’ Foundation for Education and Environment (I.P.F)
Background
The Indigenous Peoples’ Foundation for Education and Environment (IPF) was officially established on 3 November 2005 in Thailand, registration number Chor Mor. 0027/2548, by a joint effort of indigenous peoples’ leaders and local academics. Its main aim at that time was to build capacity for indigenous peoples and to promote full and effective participation of indigenous peoples in a wide range of international policy processes relevant to them. These included, but were not limited to policy on forest and biodiversity conservation and management, and policy on climate change mitigation and adaptation measures. These activities were undertaken in close collaboration with the International Alliance of Indigenous and Tribal Peoples of the Tropical Forests and other partner organizations.
In 2009, the IPF reviewed and adjusted its policy and programmes to be more community oriented in order to best serve the need of its target communities particularly on issues of indigenous peoples’ education, self-determined development and customary land use and natural resource management. The IPF’s currently worked with indigenous peoples in Thailand, such as Karen, Hmong, Mien, Lisu, Lahu and Akha. Experiences gained from indigenous peoples in Thailand will be shared and replicated to other indigenous groups in the Greater Mekong Sub-region (GMS), such as Laos, Myanmar, Cambodia, and Vietnam.
Vision
Indigenous peoples in the Greater Mekong Sub-region are aware and fully participate in the realization and protection of their distinct rights particularly on indigenous education and natural resource management.
Mission
1. follow up policies and international processes particularly on education and environment relevant to indigenous peoples
2. bring international policies/commitments into practice at regional, national and local level
3. promote and develop an information centre on education and environment relevant to indigenous peoples
4. build the capacity of indigenous organizations and leaders on human rights and environmental issues
5. provide support and coordinate with indigenous organizations, indigenous networks and other relevant agencies in the GMS
6. monitor policies and programmes on indigenous peoples’ education in the GMS
Strategies
1. Applying the United Nations Declaration on the Rights of Indigenous Peoples as the general framework for implementation of project activities
2. Strengthening the capacity of indigenous leaders and personnel to play key roles in different activities and issues
3. Facilitating the free and flow of information between the indigenous organizations and relevant agencies
4. Using multi-cooperation approach
5. Emphasizing on full and effective participation of all involved sectors and ensuring gender balance
6. Achieving sustainable development
Objectives
1. to provide support to indigenous peoples in Thailand and the GMS on education and sustainable land use and natural resource management;
2. to build capacity of indigenous peoples’ network in the GMS;
3. to promote life quality and self-determined development to indigenous peoples in Thailand and the GMS;
4. to promote and protect indigenous peoples’ rights and culture in Thailand and the GMS.
Our Work
The work of the IPF is divided into four main programmes.
1. Documentation and information dissemination
The IPF continues to compile and update government policies and plans that affect and are relevant to indigenous peoples, such as policy on education and natural resource management. The IPF will produce publications and use other media to promote indigenous peoples’ rights, such as books, leaflets, video, and community radio programmes. It will likewise maintain and update a website to disseminate information broadly.
2. Capacity building for indigenous organizations and communities
The main aim is to further enhance the capacity of indigenous peoples on issues related to their needs and aspirations, such as community based climate change assessment, reducing emission from deforestation and forest degradation in developing countries (REDD+), etc. This will help indigenous peoples to understand and find ways to tackle their own problems. Activities could be in the form of trainings, study visits, participation in international, regional, and national meetings.
3. Strengthening indigenous peoples’ network
The IPF will support the establishment of national indigenous peoples’ networks in Thailand and in the GMS. This will serve as a platform for them to learn and share experiences and find appropriate solutions to their problems. Additionally, it’s also to strengthen solidarity among indigenous peoples in the region.
4. Policy advocacy
The IPF is monitoring and participating in a few key processes that affect indigenous peoples’ rights and livelihoods at different levels
4.1) International and regional level, such as the CBD, UNFCCC, UNFF, World Bank, Asian Development Bank and ASEAN
4.2) National and local level, namely protected areas, community land titling, REDD+, and education management system for highland indigenous peoples.
If you require further information please contact
IPF Secretariat
C/O 188/509 M.10, Kurasapha Village, Soi 22,
Sannameng Subdistrict, Sansai District,
Chiang Mai, Thailand 50210 Tel./Fax: +66 520631135
Website: www.ipfinfo.org